
Super User
ผังโครงสร้างหน่วยงาน
ผังโครงสร้างหน่วยงาน เทศบาลตำบลขามป้อม อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี รายละเอียดปรากฏตามเอกสารที่แนบมาด้วยนี้
สภาพทั่วไป
เทศบาลตำบลขามป้อม อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี ได้จัดทำ เอกสารบรรยายสรุปข้อมูล สภาพทั่วไป พื้นที่รับผิดชอบของ เทศบาลตำบลขามป้อม พื่อประชาสัมพันธ์แก่ผู้สนใจ รายละเอียดปรากฎตามเอกสารที่แนบมาด้วยนี้
ถาม-ตอบ Q&A
- ถาม : เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ออกวันไหนค่ะ ?
- ตอบ : ไม่เกินวันที่ 10 ของทุกเดือนคะ
- ถาม : ชำระภาษีโรงเรือนช่วงพักเที่ยงได้ไหมครับ ?
- ตอบ : ได้ค่ะ มีเจ้าหน้าที่คอยให้บริการ ไม่พักกลางวันค่ะ
- ถาม : สถานที่ท่องเที่ยวในพื้นที่ เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าได้รึยังค่ะ ?
- ตอบ : เปิดให้บริการแล้วนะค่ะ
- ถาม : ระบบบริการอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ (Government e-Service) คืออะไร ?
- ตอบ : ระบบบริการอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ คือ การให้บริการข้อมูลและการทำธุรกรรมของภาครัฐผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ขอรับบริการ เกณฑ์ในการพิจารณาว่าระบบสารสนเทศของหน่วยงานจัดว่าเป็นระบบบริการ อิเล็กทรอนิกส์หรือไม่ ครอบคลุมถึงการให้บริการกับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นบุคคลภายนอกหรือไม่ โดยกลุ่มเป้าหมายดังกล่าวอาจเป็นได้ทั้ง ประชาชน หน่วยราชการ ภาคธุรกิจ และองค์กร และมีการให้ข้อมูล สนับสนุน หรือให้บริการที่สอดคล้องกับภารกิจของหน่วยงานท่านหรือไม่
การจัดการความรู้ (Knowledge Management) เพื่อเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization )
ความหมายของ "การจัดการความรู้" (Knowledge Management: KM)
การจัดการความรู้ หรือ KM ซึ่งที่ย่อมาจากคำว่า “Knowledge Management” คือ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในส่วนราชการซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคล หรือ เอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้และพัฒนาตนเองให้เป็ นผู้รู้ นำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานให้เกิดประสิทธิภา พ อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด (อ้างอิงจาก สำนักงาน ก.พ.ร.)
KM ไม่ใช่เป้าหมาย แต่เป็นเครื่องมือ ที่จะช่วยให้มีการสร้าง รวบรวม จัดระบบ เผยแพร่ ถ่ายโอนความรู้ที่เป็นประโยชน์เพื่อให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ใน สถานการณ์ต่างๆ ได้ทันเวลา และทันเหตุการณ์ จะส่งผลให้การปฏิบัติงานของคนในองค์กรมีคุณภาพ และมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะทำให้องค์กรบรรลุเป้าหมายตามวิสัยทัศน์ พันธกิจขององค์กร และเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization )
ความหมายและรูปแบบของความรู้
ความรู้ คือ สิ่งที่สั่งสมมาจากการศึกษา เล่าเรียน การค้นคว้า หรือประสบการณ์ รวมทั้งความสามารถเชิงปฏิบัติและทักษะความเข้าใจ หรือ สารสนเทศที่ได้รับมาจากประสบการณ์ สิ่งที่ได้รับมาจากการได้ยิน ได้ฟัง การคิด หรือ การปฏิบัติ องค์วิชาในแต่ละสาขา (ที่มา : พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน)
รูปแบบของความรู้ มี 2 ประเภท คือ
1. ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธีการต่าง ๆ เช่น การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ทฤษฎี คู่มือต่าง ๆ เอกสาร กฏระเบียบ วิธีการปฏิบัติงาน สื่อต่างๆ เช่น VCD DVD Internet เทป เป็นต้น และบางครั้งเรียกว่า ความรู้แบบรูปธรรม
2. ความรู้ที่ฝังอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์หรือสัญชาตญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่า ง ๆ เป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูด หรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย เช่น ทักษะในการทำงาน งานฝีมือ ประสบการณ์ แนวความคิด บางครั้งจึงเรียกว่า ความรู้แบบนามธรรม
การกำหนดขอบเขตและเป้าหมายของการจัดการความรู้
ก่อนที่จะมี จัดการความรู้ หรือทำ KM จะต้องมีการกำหนดขอบเขต และเป้าหมาย KM ก่อน ซึ่ง ขอบเขต KM เป็นหัวเรื่องกว้าง ๆของความรู้ที่จำเป็นและสอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์ตามแผนบริห ารราชการแผ่นดิน ซึ่งต้องการจะนำมากำหนดเป้าหมาย KM ซึ่งแต่ละองค์กรสามารถใช้แนวทาง ในการกำหนดขอบเขตและเป้าหมาย KM เพื่อจัดทำแผนการจัดการความรู้ขององค์กร ได้ 4 แนวทาง คือ
- แนวทางที่ 1 เป็นความรู้ที่จำเป็นและสนับสนุนวิสัยทัศน์ พันธกิจ ประเด็นยุทธศาสตร์ขององค์กร
- แนวทางที่ 2 เป็นความรู้ที่สำคัญต่อองค์กร เช่น ความรู้เกี่ยวกับลูกค้า ประสบการณ์ความรู้ที่สั่งสมมา
- แนวทางที่ 3 เป็นปัญหาที่องค์กรประสบอยู่ และสามารถนำ KM มาช่วยได้
- แนวทางที่ 4 เป็นแนวทางผสมกันระหว่างแนวทางที่ 1 , 2 หรือ 3 หรือจะเป็นแนวทางอื่นที่องค์กรเห็นว่าเหมาะสม
แนวทางการตัดสินใจเลือกขอบเขต KM
การตัดสินใจเลือกขอบเขต KM อาจใช้แนวทางต่อไปนี้ มาช่วยในการตัดสินใจว่า ขอบเขต KM ใดที่องค์กรจะคัดเลือกมาจัดทำแผนการจัดการความรู้ขององค์กร เช่น
- ความสอดคล้องกับทิศทางและประเด็นยุทธศาสตร์ในระดับของหน่วยงานต นเอง
- ทำให้เกิดการปรับปรุงที่เห็นได้ชัดเจน หรือเป็นรูปธรรม
- มีโอกาสทำได้สำเร็จสูง (โดยพิจารณาจากความพร้อมด้านคน งบประมาณ เทคโนโลยี วัฒนธรรมองค์กร ระยะเวลาดำเนินงาน ฯลฯ)
- เป็นเรื่องที่ต้องทำ คนส่วนใหญ่ในองค์กรต้องการให้ทำ
- เป็นเรื่องที่ผู้บริหารให้การสนับสนุน
- เป็นความรู้ที่ต้องนำมาจัดการอย่างเร่งด่วน
- แนวทางอื่น ๆ ที่องค์กรเห็นว่าเหมาะสม
กระบวนการจัดการความรู้ และกระบวนการบริหารการเปลี่ยนแปลงเพื่อสนับสนุนการจัดการความรู้
กระบวนการจัดการความรู้ ตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. และสถานบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ เสนอให้ส่วนราชการนำมาจัดทำแผนการจัดการความรู้ และสอดคล้องกับขอบเขตและเป้าหมาย KM ขององค์กร มี 2 แนวคิด คือ
- แนวคิดเรื่องกระบวนการจัดการความรู้ (Knowledge Management Process)
- แนวคิดเรื่องกระบวนการบริหารการเปลี่ยนแปลง (Change Management Process)
1. แนวคิดเรื่องกระบวนการจัดการความรู้ (Knowledge Management Process)
เป็นกระบวนการแบบหนึ่งที่จะช่วยให้องค์กรเข้าใจถึงขั้นตอนที่ทำ ให้เกิดกระบวนการจัดการความรู้ หรือพัฒนาการของความรู้ที่จะเกิดขึ้นในองค์กร ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน ดังนี้
- การบ่งชี้ความรู้ คือ การค้นหาและระบุให้ได้ว่า การที่องค์กรจะบรรลุเป้าหมายตามวิสัยทัศน์ พันธกิจ ขององค์กร และ คนในองค์กรจำเป็นต้องรู้อะไรบ้าง ขณะนี้มีความรู้อะไรบ้าง อยู่ในรูปแบบใด เช่น อยู่ในเอกสาร ฐานความรู้ หนังสือเวียน หรือในตัวบุคคล และอยู่ที่ใครบ้าง เป็นต้น
- การสร้างและแสวงหาความรู้ โดยการสร้างความรู้ใหม่ที่จำเป็นต่อองค์กร การแสวงหาความรู้จากภายนอกองค์กร ( องค์กรที่มีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับความรู้ที่ต้องการเป็นพิเศษ) การรักษาความรู้เก่าที่มีอยู่และยังเป็นประโยชน์ต่อองค์กร ตลอดจนการกำจัดความรู้ที่ใช้ไม่ได้แล้ว เป็นต้น
- การจัดการความรู้ให้เป็นระบบ คือ การวางโครงสร้างความรู้ในองค์กรเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเก็บค วามรู้อย่างเป็นระบบในอนาคต
- การประมวลและกลั่นกรองความรู้ คือ การปรับปรุงเอกสาร โปรแกรมการจัดเก็บเอกสารให้เป็นมาตรฐาน โดยใช้รูปแบบและเนื้อหาเดียวกัน และปรับปรุงเนื้อหาให้สมบูรณ์ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการนำความรู้ไปใช้ได้อย่างสะดวกรวดเร็วมา กขึ้น
- การเข้าถึงความรู้ คือ การกำหนดรูปแบบและวิธีการที่จะทำให้คนในองค์กร สามารถเข้าถึงความรู้ได้ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การฝึกอบรม การทำหนังสือเวียน การจัดทำ Website Web Board เป็นต้น
- การแบ่งปันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ คือ การที่คนในองค์กรนำความรู้ที่มีอยู่มาแลกเปลี่ยนกัน ทั้งในรูปแบบที่จับต้องได้ เช่น เอกสาร ฐานความรู้ เทคโนโลยีสารสนเทศ Intranet หรือในรูปแบบที่ไม่สามารถจับต้องได้ เช่น การจัดทีมข้ามสายงาน การจัดกิจกรรมกลุ่มคุณภาพและนวัตกรรม การจัดชุมชนแห่งการเรียนรู้ การใช้ระบบพี่เลี้ยงเพื่อสอนงาน การสับเปลี่ยนสายงาน การยืมตัว และการจัดเวทีความคิดเห็น เป็นต้น
- การเรียนรู้ คือ การที่คนในองค์กรนำองค์ความรู้ที่ได้รับมาในรูปแบบและวิธีการต่ าง ๆ ไปใช้ในการปฏิบัติงาน โดยมีการเรียนรู้และสร้างนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการเรียนรู้และประสบการณ์ใหม่ ๆ และนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้ใหม่ในองค์กร
2. แนวคิดเรื่องกระบวนการบริหารการเปลี่ยนแปลง (Change Management Process)
เป็นกรอบแนวคิดแบบหนึ่งเพื่อให้องค์กรที่ต้องการจัดการความรู้ภ ายในองค์กร ได้มุ่งเน้นถึงปัจจัยแวดล้อมภายในองค์กร ที่จะมีผลกระทบต่อการจัดการความรู้ ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ดังนี้
- การเตรียมความพร้อมและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อแก้ไขปัญหาและอุปสรรคในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของคนในองค์ก ร คือ ก ารเน้นให้ผู้บริหารเป็นแบบอย่างที่ดีในการจัดการความรู้ การแก้ไขกฎระเบียบให้มีความยืดหยุ่น การสร้างบรรยากาศที่เปิดกว้างให้โอกาสพนักงานแสดงความคิดเห็น และการส่งเสริมการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ เช่น การประกาศนโยบายการจัดการความรู้ให้ทุกคนทราบ เป็นต้น
- การสื่อสาร เพื่อทำให้ทุกคนในองค์กรอยากให้ความร่วมมือในการจัดการความรู้ใ นองค์กร โดยการเน้นทุกคนเข้าใจถึงสิ่งที่องค์กรจะทำ ประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับทุกคน และแต่ละคนจะมีส่วนร่วมได้อย่างไร ผ่านช่องทางการสื่อสารในรูปแบบต่าง เช่น จดหมายเวียน E-Mail Intranet เป็นต้น
- กระบวนการและเครื่องมือ เพื่อทำให้เกิดการเชื่อมโยงข้อมูลความรู้ในองค์กร และสามารถเข้าถึง ค้นหาและแลกเปลี่ยนข้อมูลได้ง่าย สะดวก รวดเร็วมากขึ้น โดยเน้นการพิจารณาความเหมาะสมกับชนิดของความรู้ ลักษณะขนาดสถานที่ตั้งองค์กร ลักษณะการทำงาน วัฒนธรรมองค์กร และทรัพยากรที่มีอยู่ เช่น หากเป็นความรู้ที่เป็นเอกสาร จับต้องได้ อาจใช้หนังสือเวียน หรือเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นเครื่องมือในการเข้าถึงความรู้ แต่ถ้าหากเป็นความรู้ที่ต้องใช้ประสบการณ์ หรือใช้ประสาทสัมผัส อาจใช้การสอนงานระหว่างทำงาน หรือประสบการณ์โดยตรงเป็นเครื่องมือในการเข้าถึงความรู้ เป็นต้น
- การฝึกอบรมและการเรียนรู้ เพื่อสร้างความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญและหลักการของการจั ดการความรู้ โดยคำนึงถึงความสอดคล้องเกี่ยวกับการกำหนดเนื้อหา กลุ่มเป้าหมาย วิธีการ และการประเมินผลและการปรับปรุงการฝึกอบรม / การเรียนรู้ ซึ่งตัวอย่างหลักสูตร ได้แก่ KM Implementation ชุมชนแห่งการเรียนรู้ (COP) การปรับเปลี่ยนวัฒนธรรม การใช้ IT เป็นต้น
- การวัดผล เพื่อให้ทราบว่าการดำเนินการได้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้หรือไม่ และนำผลของการวัดมาปรับปรุงแผนและการดำเนินการให้ดีขึ้น ตลอดจนนำผลการวัดมาใช้ในการสื่อสารกับบุคลากรในทุกระดับให้เห็น ประโยชน์ของการจัดการความรู้
- การยกย่องชมเชยและให้รางวัล เพื่อสร้างแรงจูงใจให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการมีส่วนร่วมของบุคลากรทุกระดับ โดยพิจารณาถึงความสอดคล้องด้านความต้องการของบุคลากร แรงจูงใจระยะสั้นและระยะยาว การบูรณาการกับระบบที่มีอยู่ การปรับเปลี่ยนให้เข้ากับกิจกรรมที่ทำในแต่ละช่วงเวลา
แผนการจัดการความรู้ ... กุญแจสู่ความสำเร็จในการจัดการความรู้ในองค์กร
แผนการจัดการความรู้ (KM Action Plan) เป็นแผนงานที่แสดงถึงรายละเอียดการดำเนินงานของกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อให้องค์กรบรรลุผลตามเป้าหมาย (Desire State) ที่กำหนด
ขั้นตอนการจัดทำแผน KM
(อ้างอิงจากคู่มือการจัดทำแผนการจัดการความรู้ โดย สำนักงาน ก.พ.ร. และสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ)
- องค์กรจะต้องมีการกำหนดขอบเขตการจัดการความรู้ หรือ ขอบเขต KM (KM Focus Area) และเป้าหมาย KM (Desire State) ที่องค์กรต้องการเลือกทำ และต้องการจัดการความรู้ที่จำเป็นต้องมีในกระบวนงาน (Work Process) เพื่อสนับสนุนประเด็นยุทธศาสตร์ขององค์กร
- เมื่อองค์กรได้ตรวจสอบความถูกต้องและเหมาะสมของขอบเขต KM (KM Focus Area) และเป้าหมาย KM (Desired State)แล้ว ให้นำหัวข้อเป้าหมาย KM ที่องค์กรต้องทำ มาจัดทำแผนการจัดการความรู้ (KM Action Plan) โดยการจัดทำแผนจะขึ้นอยู่กับความพร้อมขององค์กรที่ทำให้เป้าหมา ย KM บรรลุผลสำเร็จ โดยการประเมินองค์กรของตนเองก่อนจัดทำแผน KM
- การประเมินองค์กรของตนเองเรื่องการจัดการความรู้ เป็นกระบวนการที่ทำให้ทราบถึงความพร้อม (จุดอ่อน - จุดแข็ง / โอกาส - อุปสรรค) ในเรื่องการจัดการความรู้ และนำผลการประเมินดังกล่าวมาใช้เป็นข้อมูลส่วนหนึ่งในการจัดทำแ ผน KM ให้ สอดรับกับเป้าหมาย KM ที่เลือกไว้ โดยองค์กรสามารถเลือกวิธีการประเมินองค์กรตนเองเรื่องการจัดการ ความรู้ที่เหมาะสมกับองค์กร ได้ดังนี้
- ใช้วิธีการประเมินองค์กรตนเองเรื่องการจัดการความรู้ KMAT (The Knowledge Management Assessment Tool : KMAT) ซึ่งเป็นเครื่องมือชนิดหนึ่งที่ใช้ในการประเมินองค์กรตนเองในเร ื่องการจัดการความรู้ และให้ข้อมูลกับองค์กรว่ามีจุดอ่อน-จุดแข็ง / โอกาส-อุปสรรค ในการจัดการความรู้เรื่องใดบ้าง โดยเครื่องมือนี้แบ่งออกเป็น 5 หมวด ดังนี้
- หมวด 1 กระบวนการจัดการความรู้
- หมวด 2 ภาวะผู้นำ
- หมวด 3 วัฒนธรรมในเรื่องการจัดการความรู้
- หมวด 4 เทคโนโลยีการจัดการความรู้
- หมวด 5 การวัดผลการจัดการความรู้
- ใช้วิธีอื่น ๆ ในการประเมินองค์กรตนเองเรื่องการจัดการความรู้ เช่น แบบสอบถาม รายงานผลการวิเคราะห์องค์กร เป็นต้น
การประเมินองค์กรตนเองดังกล่าว จะต้องเป็นการระดมสมองกันภายในองค์กรเอง โดยอย่างน้อยจะต้องมีบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการตามขอ บเขต KM และเป้าหมาย KM เข้าร่วมการประเมินองค์กรด้วย
ผลลัพธ์ที่ได้จากการประเมินตนเองเรื่องการจัดการความรู้ จะต้องเป็นข้อมูลที่เกี่ยวข้องอย่างชัดเจนกับขอบเขต KM และเป้าหมาย KM ซึ่งจะทำให้การจัดทำแผนการจัดการความรู้สามารถสอดรับกับผลลัพธ์ ที่ได้จากการประเมิน และส่งผลให้เป้าหมาย KM บรรลุผลสำเร็จตามแผนที่กำหนด
- ใช้วิธีการประเมินองค์กรตนเองเรื่องการจัดการความรู้ KMAT (The Knowledge Management Assessment Tool : KMAT) ซึ่งเป็นเครื่องมือชนิดหนึ่งที่ใช้ในการประเมินองค์กรตนเองในเร ื่องการจัดการความรู้ และให้ข้อมูลกับองค์กรว่ามีจุดอ่อน-จุดแข็ง / โอกาส-อุปสรรค ในการจัดการความรู้เรื่องใดบ้าง โดยเครื่องมือนี้แบ่งออกเป็น 5 หมวด ดังนี้
- นำผลการประเมินตนเองที่ได้ มาจัดทำแผนการจัดการความรู้ หรือ แผน KM ตามกระบวนการจัดการความรู้ และกระบวนการบริหารการเปลี่ยนแปลง โดยให้ระบุถึง
- กิจกรรมต่าง ๆ ตาม กระบวนการจัดการความรู้ (7ขั้นตอน) และกระบวนการบริหารการเปลี่ยนแปลง (6 องค์ประกอบ)
- วิธีการสู่ความสำเร็จ
- ตัวชี้วัดความสำเร็จ
- เป้าหมาย
- วัสดุ อุปกรณ์ที่ต้องใช้
- งบประมาณดำเนินการ
- ผู้รับผิดชอบการดำเนินการ
ทั้งนี้ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ได้จัดทำ แผนการจัดการความรู้ โดยมีการกำหนดขอบเขต KM หรือกำหนดองค์ความรู้ที่จำเป็นในการปฏิบัติงานเพื่อ สนับสนุนประเด็นยุทธศาสตร์ขององค์กร ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 ดังนี้
แผนการจัดการความรู้ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 มุ่งเน้นการจัดการความรู้เกี่ยวกับ
- "การส่งเสริม อปท. ในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นให้เชื่อมโยงกับแผนชุมชน"
แผนการจัดการความรู้ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 มุ่งเน้นการจัดการความรู้เกี่ยวกับ
- "การส่งเสริม อปท. ในการดำเนินการตามโครงการจัดระเบียบการจำหน่ายสินค้าในที่สาธารณะเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน"
- "การตรวจติดตามการจัดระบบควบคุมภายในของ อปท. ตามระเบียบ คตง. ว่าด้วยการกำหนดมาตรฐานการควบคุมภายใน พ.ศ. 2544 ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง"
ตัวอย่าง ***การดำเนินการการจัดการความรู้ของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2553
ประวัติความเป็นมา
ตำบลขามป้อม ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2334 ต้นกำเนิดมาจากชาวบ้านกงพะเนียง (บ้านเหนือเขมราฐ )ได้อพยพย้ายถิ่นฐานมาก่อสร้างหมู่บ้านที่โนนมะขามป้อม หรือตำบลขามป้อม ในปัจจุบัน โดยผู้ก่อตั้งตำบลขามป้อมเล่าขานกันว่า พ่อใหญ่เมืองฮาน พ่อใหญ่เมืองปราชญ์ พ่อใหญ่สีหราช เป็นคนที่ย้ายมาอยู่เป็นครอบครัวแรก การที่ตั้งชื่อว่า "ตำบลขามป้อม" เนื่องจากขณะนั้น พื้นที่สร้างหมู่บ้านมีต้นมะขามป้อมจำนวนมาก จึงได้ตั้งชื่อตามสภาพแวดล้อมว่า "บ้านขามป้อม" หรือ "ตำบลขามป้อม" ในปัจจุบัน โดยมีนายอัคบัณฑิต (ขุนขามป้อม) เป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรก ต่อมาได้มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครอง จึงได้แยกตำบลขามป้อม เป็นตำบลหนองผือ เมื่อวันที่ 9 เดือนพฤษภาคม พ.ศ.2504 และตำบลขามป้อมได้แยกเขตการปกครองอีกครั้ง เป็นตำบลแก้งเหนือ เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2527
https://www.khampomcity.go.th/hr-management-guidelines/itemlist/user/904-superuser?start=970#sigProGalleriaf98a9b8fc4
ความเป็นมาของตำบลขามป้อมนั้น เชื่อว่าเป็นตำบลเก่าแก่นานนับพันปี เนื่องจากมีการค้นพบหลักฐานการตั้งถิ่นฐาน ที่บ้านดงเย็น หมู่ที่ 8 เป็นโบราณวัตถุ ที่มีอายุมากกว่าพันปี เช่น พบซากกระดูกโบราณ ไหกระดูก โบราณวัตถุ กำไรข้อมือ ข้อเท้า เป็นต้น อีกทั้งยังมีร่องรอยอารยะธรรม วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมของประวัติศาสตร์อันเก่าแก่และยาวนานหลายปี ซึ่งเหลือไว้เพียงซากวัตถุต่าง ๆ และการบอกเล่าต่อ ๆ กันมาจากรุ่นสู่รุ่น
เดิมเทศบาลตำบลขามป้อม เป็น องค์การบริหารส่วนตำบลขามป้อม อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี ต่อมา ได้ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลขามป้อม อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี เป็นเทศบาลตำบลขามป้อม เมื่อวันที่ 15 กรฏาคม 2551 มีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 17 กรฏาคม 2551 และได้ประกาศปรับขนาดเทศบาล จากเทศบาลขนาดเล็ก เป็นเทศบาลตำบลขนาดกลาง เมื่อ วันที่ 5 มิถุนายน 2553 มีผลบังคับใช้ ตั้งแต่ วันที่ 25 มิถุนายน 2553 จนถึงปัจจุบัน
เทศบาลตำบลขามป้อม มีพื้นที่ประมาณ 72.453 ตารางกิโลเมตร มีอาณาเขตการปกครอง จำนวน ๑๗ หมู่บ้าน ทิศเหนือติดกับเทศบาลตำบลเทพวงศา ทิศตะวันออกติดกับองค์การบริหารส่วนตำบลพังเคน ทิศใต้ติดกับองค์การบริหารส่วนตำบลแก้งเหนือ ทิศตะวันตกติดกับเทศบาลตำบลหนองนกทา มีประชากรในตำบลขามป้อม ทั้งหมด 9,424 คน แยก เป็นเพศชาย 4,780 คน เพศหญิง 4,644 คน จำนวน 3,021 ครัวเรือน ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา ทำการเกษตร มีรายได้ผ่านเกณฑ์รายได้เฉลี่ยตามเกณฑ์ จปฐ. 23,000 บาทต่อปี
วิสัยทัศน์-พันธกิจ
เทศบาลตำบลขามป้อม อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี ได้จัดทำเอกสารเกี่ยวกับ วิสัยทัศน์ พันธกิจ และยุทธศาสตร์การพัฒนา เทศบาลตำบลขามป้อม เพื่อประชาสัมพันธ์แก่ผู้สนใจ รายละเอียดปรากฎตามเอกสารที่แนบมาด้วยนี้
กองการศึกษา

- ว่าง -
ผู้อำนวยการกองการศึกษา

ว่าง
หัวหน้าฝ่ายบริหารการศึกษามือถือ

นางจิตติภรณ์ บุญประสม
นักวิชาการศึกษาปฏิบัติการ

- ว่าง -
นักวิชาการสันทนาการ

นายตะวัน วรรณสินธ์
ผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลขามป้อม

นางรุ่งนภา มูลศรี
ครูชำนาญการ

นางสุพัตรา ปุตา
ครูชำนาญการ

นางสริญญา ชาภักดี
ครูชำนาญการ

ว่าง
ครูชำนาญการ

นางดวงเดือน เสียงใหญ่
ครูชำนาญการ

นางพาพร ดีบุปผา
ครูชำนาญการ

นางฉวีรรณ ชมจันทร์
ครูชำนาญการ

นางคำผ่อน ชูรัตน์
ครูชำนาญการ

นางสาวอนุชิดา ด้วงเบ้า
ครู

นายอติเทพ ทรงทรัพย์
ครูผู้ช่วย

นายถนอมรัตน์ ศรีผุย
ครูผู้ช่วย

นางสาวธัญชนก สิงห์ทอง
ครูผู้ช่วย

นางรินรดี สกุลสุข
ครูผู้ช่วย

นางสาวจิราภรณ์ สังข์ชาตี
ครูผู้ช่วย

นางปทิตตา สุวรรณพงษ์
ผู้ช่วยนักวิชาการศึกษา

นายเฉลิมศักดิ์ ถูกธรรม
ผู้ช่วยเจ้าพนักงานธุรการ

นางนิชาภา พิมเทศ
ผู้ดูแลเด็ก (ทักษะ)

ว่าง
ผู้ดูแลเด็ก (ทักษะ)

นางสมใจ ติยาภักดิ์
ผู้ดูแลเด็ก (ทักษะ)

นางวิจิตร ย่องยี
ผู้ดูแลเด็ก (ทักษะ)

นางทัศนีย์ สืบเหลา
ผู้ดูแลเด็ก (ทักษะ)

นายพรชัย หาเคน
จ้างเหมาบริการ

นายวีระศักดิ์ เคนสุวรรณ
ภารโรง

นางสาวทิพวรรณ แก้วพร
จ้างเหมาบริการ

นางสาวอมลวรรณ สายสิน
จ้างเหมาบริการ
กองช่าง

- ว่าง -
ผู้อำนวยการกองช่าง

นายณัฐพล จิตร์กำแหง
นายช่างโยธาชำนาญงาน

นางสาวธัญชนก ติยาภักดิ์
เจ้าพนักงานธุรการชำนาญงาน

นายจำนงศักดิ์ ทาวะรมย์
ผู้ช่วยเจ้าพนักงานไฟฟ้า

นายธีระภพ นามนนน์
ผู้ช่วยเจ้าพนักงานประปา

นางสาวอรัญญา บุตรอ่อน
ผู้ช่วยเจ้าพนักงานธุรการ

นางสาวอุบลวรรณ จันทร์สิงห์
จ้างเหมาบริการ

นายชนะพล ตู้เงิน
จ้างเหมาบริการ
กองคลัง

นางสาวกนิษฐา สันตะวงค์
ผู้อำนวยการกองคลัง
มือถือ 0652720518

นางสาวกรรณิกา เผือกยิ้ม
หัวหน้าฝ่ายบริหารงานคลัง
มือถือ 0872506337

- ว่าง -
นักวิชาการเงินและบัญชี (ปก./ชก.)

นางสุภาวดี พรหมสิทธิ์
นักวิชาการพัสดุชำนาญการ

นางสาวนิตยา ทีฆายุพรรค
ผู้ช่วยเจ้าพนักงานการเงินและบัญชี

นางสาวปิยธิดา เกษดี
ผู้ช่วยเจ้าพนักงานพัสดุ

นางสาวสุธาศิณี ตุ่นมี
ผู้ช่วยเจ้าพนักงานจัดเก็บรายได้

นางสาวพัชริน ลือนาม
ผู้ช่วยเจ้าหน้าที่การคลัง

นางสาวเสาวลักษณ์ ชืนใจ
ลูกมือช่างแผนที่ภาษี

นางสาวพิชชานันท์ จันทบุตร
ผู้ช่วยนักทรัพยากรบุคคล

นายจิตประสงค์ ถูกธรรม
จ้างเหมาบริการ

นายอินทัช พุทธปอง
จ้างเหมาบริการ
สำนักปลัดเทศบาล

นางวราภรณ์ เคนสุวรรณ
หัวหน้าสำนักปลัดเทศบาล
มือถือ 087-7795895

นายศุภกฤต สกุลว่องไว
หัวหน้าฝ่ายปกครอง
มือถือ 090-9050445

นางสาวอัจฉราพร แสงเขียว
หัวหน้าฝ่ายอำนวยการ
มือถือ 089-7228786

จ่าสิบเอกวรพจน์ สุดสวาท
นักทรัพยากรบุคคลชำนาญการ

นางสาวครองขวัญ ขุนทอง
นักพัฒนาชุมชนชำนาญการ

นางสาวอัญชิษฐา พร้อมพรม
นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ

สิบเอกฐปนนันนท์ ดวงแก้ว
นักจัดการงานทะเบียนและบัตรชำนาญการ

นางสิริกร สีหมอก
พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

จ่าเอกสมโภช สืบเหลา
นักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
ชำนาญการ

-ว่าง-
นิติกรปฏิบัติการ

นางรัตนา ปิ่นแก้ว
นักวิชาการสุขาภิบาลปฏิบัติการ

นายธนันชัย วารีพัฒน์
ผู้ช่วยนักทรัพยากรบุคคล

นายอำพล ศรีพรมมา
ผู้ช่วยนักพัฒนาชุมชน

นางสาวกรรณิการ์ โกศัลวิตร
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์นโยบายและแผน

นายธนสิทธฺ์ นัยนามาศ
ผู้ช่วยนักวิชาการประชาสัมพันธ์

นายผลชัย ศรีวงศ์
ผู้ช่วยนักวิชาการเกษตร

นายโยธิน นามวงศ์
ผู้ช่วยสัตวแพทย์

นายชาตรี ทีฆายุพรรค
ผู้ช่วยเจ้าพนักงานป้องกันและ
บรรเทาสาธารณภัย

นางสาวอมรรัตน์ ห้าวหาญ
ผู้ช่วยเจ้าพนักงานธุรการ

นายวีระวัฒน์ ชาภักดี
พนักงานขับรถยนต์

นายไสว สิมาพันธ์
พนักงานขับรถยนต์

นายประดิษฐ แก้วโสภา
พนักงานขับรถยนต์

นายวีระศักดิ์ พิมเทศ
ผู้ช่วยเจ้าพนักงานประปา

นายวิชา ปุตา
พนักงานดับเพลิง (ผู้มีทักษะ)

นายสมศรี ยุตวัน
พนักงานดับเพลิง (ผู้มีทักษะ)

นายสุรินทร์ แสงอร่าม
พนักงานดับเพลิง (ผู้มีทักษะ)

นายบัวคำ ศรีวงษ์
คนงานทั่วไป

นางสาวจิราพร ทีรวม
จ้างเหมาบริการ

นางสาวเทียมจันทร์ แก้วพร
จ้างเหมาบริการ

นายเลิศไทย บัวพันธ์
จ้างเหมาบริการ